วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย



สรุปงานวิจัย


      ชื่องานวิจัย  :  การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย

     ชื่อผู้วิจัย  :  นางสาวนงลักษณ์ บุญระชัยสวรรค์   มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

    วัตถุประสงค์การวิจัย

   1.เพื่อส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปใช้กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถาม

       สำหรับเด็กปฐมวัย

  2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการ ใช้กิจกรรมการ

      ทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถาม      

     ขอบเขตด้านตัวแปร

     ตัวแปรต้น   คือ     กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถาม

     ตัวแปรตาม  คือ    การส่งเสริมทักษะการลงสรุปสำหรบเด็กปฐมวัย


     นิยามศัพท์เฉพาะ

1.ทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปหมายถึงเป็นการบอกความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่มีความเห็นจาก

 ข้อมูลที่ได้โดยอาศัยผลจากการสังเกตและจากประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ข้อมูลที่มีอยู่อาจได้มาจากการ

 สังเกต การวัด  การทดลองคำอธิบายนั้นได้ มาจาก ความรู้หรือประสบการณ์เดิมของ ผู้สังเกตที่

 พยายามโยงบางส่วนที่เป็นความรู้หรือประสบการณ์เดิม ให้มาสัมพันธ์กับข้อมูลที่ตนเองมีอยู่ เป็นการ

อธิบายสิ่งที่ได้จากการสังเกตแล้วเพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไปกับข้อมูลนั้นซึ่งใน การอธิบายโดยเพิ่ม

ความคิดเห็นส่วนตัวนั้นต้องอาศัยความรู้เดิม ประสบการณ์เดิม ข้อมูลที่ได้รับ รวมทั้งเหตุผล


2.กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถาม หมายถึง เป็นกระบวนการปฏิบัติ หรือหาคำตอบหรือ

ตรวจสอบสมมติฐานที่ ตั้งไว้โดยการทดลองเพื่อทำการค้นคว้าหาข้อมูลและตรวจสอบดูว่าสมมติฐาน

ข้อใดเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุดกระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบของปัญหา หรือตรวจสอบ 

สมมติฐานที่สร้างไว้

ขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหา

เนื้อหาของการวิจัย เรื่องการ ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็ก

ปฐมวัยชั้นอนุบาล 2  ใช้กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถามมี12 กิจกรรม ดังต่อไปนี้

1.กิจกรรมไข่หมุน   2.  กิจกรรมขวดแก้วจอมซ่อน    3.  กิจกรรมดอกไม้เปลี่ยนสี   4.  กิจกรรมเปลวไฟ

ลอยน้ำ    5.  กิจกรรมสกัดสีจากผักผลไม้   6.  กิจกรรสำรวจใบตอง    7.กิจกรรมลูกเกดเต้นระบำ

8.  กิจกรรมไข่จมไข่ลอย9.  กิจกรรมสำรวจลูกโป่ง    10.กิจกรรมเสียงของลูกโป่ง    

11.กิจกรรมการเคลื่อนที่ของลูกโป่ง   12.กิจกรรมเผาใบตอง


ขอบเขตด้านประชากรที่ศึกษา

   ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้  คือนักเรียนชั้นอนุบาลโรงเรียนป่าซางอำเภอแม่จันจังหวัดเชียงราย  

ชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 30 คน อายุระหว่าง 5 - 6 ปี ในภาคเรียนที่ 1


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1.แผนการใช้ กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถามสำหรับเด็กปฐมวัย

2.แบบทดสอบทักษะการลงความเห็นหรือการลงสรุป ของลินราดา หันเทพมีจำนวนทั้งหมด  ข้อ

      แผนการจัดกิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถามสำหรับเด็กปฐมวัย


ตัวอย่างแผน

แผนการจัดประสบการณ์การทดลอง   ชั้นอนุบาล 2  ภาคเรียนที่ 1   สัปดาห์ที่  1  ครั้งที่ 1  วันพุธ

กิจกรรม ไข่หมุน

วัตถุประสงค์ 

1.เพื่อฝึกการสังเกตและเปรียบเทียบความแตกต่างการหมุนของไข่

2.เพื่อฝึกให้มีส่วนร่วมในการท ากิจกรรมกับเพื่อนและครู

วัสดุอุปกรณ์      1.ไข่ต้มแล้ว กับ ไข่ยังไม่ได้ต้ม

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการทดลอง

ขั้นนำ     1.ให้เด็กหาพื้นที่ให้กับตัวเอง         2. จัดเด็กเป็นกลุ่มกลุ่มละ 5 คน

ขั้นสอน   1.เด็กๆสังเกตไข่2ฟอง ใบหนึ่งไข่สุก อีกใบหนึ่งไข่ดิบ   2.เปรียบเทียบไข่ 2ฟองว่าแตกต่าง

กันอย่างไร   3.นำไข่ทั้ง 2 ฟองไปตั้งที่พื้นแล้วทดลองหมุนไข่    4.สังเกตความแตกต่างแล้วบันทึก

ขั้นสรุป    1.เด็กและครูสรุปร่วมกันเกี่ยวกับไข่หมุน

การประเมินผล    1.สังเกตดูเมื่อเด็กๆท ากิจกรรมการเคลื่อนที่ของไข่หมุน

ตารางระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง

ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ดำเนินกิจกรรมการทดลองในภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา 2554 

โดยใช้เวลาทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ  3 วัน วันละ 40 นาที ผู้วิจัยดำเนินการทดลองตามกำหนดการ

ดังนี้

     ตาราง  แสดงวันเวลาดำเนินการใช้กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้ คำถาม



สัปดาห์ที่


วันที่

กิจกรรม


1

พุธ
ไข่หมุน
พฤหัสบด
ขวดแก้วจอมซ่อน
ศุกร
เผาใบตอง


2
พุธ
ดอกไม้เปลี่ยนสี
พฤหัสบด
เปลวไฟลอยน้ำ
ศุกร
การเคลื่อนที่ของลูกโป่ง


                           3
พุธ
สกัดสีจากผัก ผลไม้
พฤหัสบด
สำรวจใบตอง
ศุกร
เสียงของลูกโป่ง


4
พุธ
ลูกเกดเต้นระบำ
พฤหัสบด
ไข่จมไข่ลอย
ศุกร
สำรวจลูกโป่ง



สรุปผลการวิจัย

1.การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัยโดย ใช้กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วย

การใช้คำถามก่อน การทดลองได้ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  18.95  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.95หลัง

การทดลองได้ ค่าเฉลี่ยค่าเท่ากับ 24.30 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.49

2.ทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัยโดยบูรณาการด้วยการใช้คำถาม ก่อนการจัดกิจกรรม

ได้ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.95   คะแนน หลังการจัดกิจกรรมได้ ค่าเฉลี่ย 24.30คะแนน มีความแตกต่างกัน

อย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .05  แสดงว่าการใช้กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถามสูงขึ้น

ก่อนการจัดกิจกรรมการทดลอง















                           




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น