วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่16


บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ

ครั้งที่ 16   วันที่่ 4 ธันวาคม 2557

เวลา 08.30 - 12.20 น. ห้อง 233

  

       ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)

     วันนี้อาจารย์ให้คนที่ยังไม่ได้นำเสนอวิจัยออกมานำเสนอซึ่งเหลือดิฉันคนสุดท้าย


    วิจัยเรื่อง การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย  วิจัยของดิฉันเองสรุปดังนี้






                             


   ต่อด้วยวันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรม แผ่นพับ flap สานสัมพันธ์บ้านและโรงเรียน

  โดยอาจารย์ให้เขียนแผ่นพับตามหน่อยของต้น กลุ่มดิฉัน หน่วยต้นไม้

    ส่วนประกอบดังนี้

       หน้าปก

       สัญลักษณ์โรงเรียน
       ชื่อโรงเรียน
       ชื่อหน่วย ภาพประกอบ
       ชื่อนักเรียน
       ชื่อครูประจำชั้น

      เนื้อหา

       ข่าวประชาสัมพันธ์
       วัตถุประสงค์
       สาระการเรียนรู้
       เรื่องที่ต้องการขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง
       สื่อที่เกี่ยวข้อง

     ปกหลัง

       เกมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยที่เรียน


 แผ่นพับกลุ่มดิฉันค่ะ







     เทคนิคการสอน Teaching Techniques

  1. การใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้วิเคราะห์
  2. การยกตัวอย่างการทำแผ่นพับ
  3. การลงมือปฏิบัติจริง

    การนำไปประยุกต์ใช้ Applications

  1. สามารถนำเทคนิคการสอนไปปรับประยุกต์ใช้ในการสอนหรืออกฝึกสอนได้
  2. สามารถนำเทคนิคการทำแผ่นพับไปใช้ในโอกาศต่างๆได้
  3. สามารถนำเทคนิคในเรื่องต่างๆที่อาจารย์แนะนำไปประยุกต์ใช้ในการสอน

     ประเมิน  Rate

   อาจารย์  100% เข้าสอนตรงเวลา สื่อที่ใช้สอนมีความหลากหลาย มีคำแนะนำเทคนิคต่างๆอย่าง

ละเอียดเนื้อหาครบถ้วนมีการใช้คำถามเทคนิคการสอนที่หลากหลาย

    ตนเอง 100% เตรียมตัวการนำเสนอวิจัยเต็มที่ ตั้งใจเรียน จดเทคนิคต่างๆที่อาจารย์บอก ลงมือปฏิบัติ

จริงร่วมแสดงความคิดเห็นในการทำกิจกรรมแผ่นพับ

   เพื่อน 100%  ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน มีการจดบันทึก ให้ความร่วมมือในการสอยของอาจารย์ มีการ

ตอบคำถามแสดงความคิดเห็นร่วมมือกันระดมความคิดเห็นในการทำงาน


            

                         


คิดวิทย์




สรุปVDOวิทยาศาสตร์

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน เกมซ่าฟองฟู่







          สรุปการทดลอง  จากการทดลองที่เกิดขึ้นเพราะแสงสีขาวจากไฟฉายประกอบด้วยสีหลายสี ได้แก่

สีม่วง สีครม สีน้ำเงิน   สีเขียว สีเหลือง  สีแสด สีแดง  หรือเรียกสั้นๆว่าสีรุ้ง  ส่วนน้ำที่ผสมนมทำหน้าที่

เหมือนกระดาษกรองที่ให้สีเหลืองและแดงผ่านได้ส่วนสีอื่นๆจะสะท้อนกลับทั้งหมดเราจึงเห็นเฉพาะแสง

สีเหลืองและแดงทะลุผ่านออกมา  

         ช่วงที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกดวงอาทิตย์จะอยู่ไกลจากเรามากว่าตอนเที่ยง เมื่อแสงดวงอาทิตย์ใน

ตอนเช้าและเย็น ส่องผ่านชั้นบรรยากาศที่มีฝุ่นละอองกระจายอยู่ แสงสีฟ้าจะถูกฝุ่นละอองทำให้กระเจิง

ออกไปหมด ก่อนจะมาถึงตาเรา ทำให้เหลือแสงสีแดงเข้ามาสู่ตาเราเราจึงมองเห็นท้องฟ้าเป็นแสงสี

แดง


                     



สรุปความลับอากาศ




อากาศ
Atmosphere



         อากาศ Atmosphere คือ ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจนและก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่นๆซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อยอากาศมีอยู่รอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่งอากาศไม่มีสีไม่มีรสชาติและไม่มีกลิ่น 

  คุณสมบัติของอากาศ  

  1. อากาศมีตัวตนและสามารถสัมผัสได้
  2. อากาศมีน้ำหนัก
  3. อากาศมีที่อยู่
  4. อากาศสามารถเคลื่อนที่ได้
    อุณหภูมิ  คือ ระดับความร้อนหนาวของอากาศถ้าอากาศหนาวอุณหภูมิจะต่ำลงถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิจะสูงขึ้นเครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิ คือ เทอร์โมมิเตอร์ มีหน่วยเป็นองศา

  เทอร์มอมิเตอร์ คือ เครื่องมือสำหรับวัดระดับความร้อน เมื่อได้รับความร้อน และหดตัวเมื่อคายความ
ร้อนของเหลวที่ใช้บรรจุในกระเปาะแก้วของเทอร์มอมิเตอร์ คือปรอทหรือแอลกอฮอล์ที่ผสมกับสีแดงเมื่อแอลกอฮอล์หรือปรอทได้รับความร้อนจะขยายตัวขึ้นไปตามหลอดแก้วเล็กๆ เหนือกระเปาะแก้ว และจะหดตัวลงไปอยู่ในกระเปาะตามเดิมถ้าอุณหภูมิลดลง


  อากาศเป็นสิ่งจำเป็นในการหายใจของสิ่งมีชีวิตถ้าขาดอากาศหายใจจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้



                             



         

ครั้งที่15


บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ

ครั้งที่ 15   วันที่่ 27 พฤศจิกายน 2557

เวลา 08.30 - 12.20 น. ห้อง 233

(ศึกษาจาก  นางสาว  ธนภรณ์ คงมนัส   เนื่องจากหยุดเรียน )


     ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge)

     นำเสนอวิจัยวิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


  

วิจัยคนที่   4.นางสาวณัฐพร  ศิริตระกูล  ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีผลต่อทักษะทางวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัย



   การนำเสนอโทรทัศน์ครู  (Presentation Teachers TV)

1.  เรื่องจุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย  Cick
2.  เรื่องสอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย  
3.  เรื่องอนุบาล 3 เรียนวิทย์สนุก  Cick
4.  เรื่องการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
5.  เรื่องกิจกรรมเรือสะเทินน้ำสะเทินบก Cick
6.  เรื่องขวดปั๊มลิฟท์เทียน Cick
7.  เรื่องสีจากกะหล่ำปลีสีม่วง
8.  เรื่องพลังจิตคิดไม่ซื่อ Cick
9.  เรื่องนมสีน้ำยาล้างจาน
10. เรื่องทะเลฟองสีรุ้ง Cick
11. เรื่องบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย Cick
12. เรื่องสนุกวิทย์ คิดทดลอง ไข่ในน้ำ CicK
13. เรื่องความลับของใบบัว Cick
14. เรื่องสาดสีสุดสนุก Cick


  การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)

  1. สามารถนำแผนการสอนไปปรับประยุกต์ใช้ได้
  2. เทคนิคการมดลองต่างๆสามารถนำไปปรับใช้ในการสอนได้

                        
                          


วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปบทความ



                                  สรุปบทความ

                สอนลูกเรื่องแรงแม่เหล็ก 


    (Teaching Children about Magnetic Force)


                                               

                                                          


      การสอนลูกเรื่องแรงแม่เหล็ก (Teaching Children about Magnetic Force) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ เกี่ยวกับวัตถุ ที่สามารถดูดเหล็กหรือวัตถุประเภทโลหะเข้าหาตัวเองได้เพราะมีแรง แต่คนเราไม่เห็นแรงที่ดูดนั้น ซึ่งแรงธรรมชาติที่เกิดจากแท่งแม่เหล็ก สามารถดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็ก เช่น วัตถุจำพวกโลหะ เหล็ก นิกเกิล และไม่ดูดวัตถุที่คุณสมบัติตรงข้ามกับแม่เหล็ก เช่น ไม้ แก้ว พลาสติก


   การสอนเรื่องแรงแม่เหล็กมีประโยชน์ต่อเด็กดังนี้คือ เด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับแรงแม่เหล็กที่เป็นเรื่องธรรมชาติ ความรู้ที่เด็กได้รับผ่านกิจกรรมทดลองง่ายๆหรือเกิดจากการเล่น ที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คือทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล ทักษะดังกล่าวเป็นทักษะสำคัญที่เด็กจะใช้แสวงหาความรู้ตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ คือรู้จักคิดและตั้งคำถาม เพื่อนำไปสู่การหาทางทดลองเพื่อเป็นคำตอบ เป็นการส่งเสริมการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็ก ซึ่งตามทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของนักการ ศึกษาที่มีชื่อเสียงคือ เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาการพัฒนาการทางสติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็ก กล่าวว่า เด็กจะมีการพัฒนาการตามอายุ และที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย จึงเป็นข้อสังเกตได้ว่าเด็กสามารถเรียนรู้และมีประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว จนสามารถเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวมา และผลจากการที่เด็กได้สัมผัสและกระทำ จะทำให้ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของเด็กพัฒนา ดังนั้น การเรียนเรื่องแรงแม่เหล็ก เด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสกระทำผ่านกิจกรรมต่างๆ จะเกิดประโยชน์ให้เด็กมีพัฒนาการตามวัย

สรุปวิจัย



สรุปงานวิจัย


      ชื่องานวิจัย  :  การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย

     ชื่อผู้วิจัย  :  นางสาวนงลักษณ์ บุญระชัยสวรรค์   มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

    วัตถุประสงค์การวิจัย

   1.เพื่อส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปใช้กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถาม

       สำหรับเด็กปฐมวัย

  2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการ ใช้กิจกรรมการ

      ทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถาม      

     ขอบเขตด้านตัวแปร

     ตัวแปรต้น   คือ     กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถาม

     ตัวแปรตาม  คือ    การส่งเสริมทักษะการลงสรุปสำหรบเด็กปฐมวัย


     นิยามศัพท์เฉพาะ

1.ทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปหมายถึงเป็นการบอกความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่มีความเห็นจาก

 ข้อมูลที่ได้โดยอาศัยผลจากการสังเกตและจากประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ข้อมูลที่มีอยู่อาจได้มาจากการ

 สังเกต การวัด  การทดลองคำอธิบายนั้นได้ มาจาก ความรู้หรือประสบการณ์เดิมของ ผู้สังเกตที่

 พยายามโยงบางส่วนที่เป็นความรู้หรือประสบการณ์เดิม ให้มาสัมพันธ์กับข้อมูลที่ตนเองมีอยู่ เป็นการ

อธิบายสิ่งที่ได้จากการสังเกตแล้วเพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไปกับข้อมูลนั้นซึ่งใน การอธิบายโดยเพิ่ม

ความคิดเห็นส่วนตัวนั้นต้องอาศัยความรู้เดิม ประสบการณ์เดิม ข้อมูลที่ได้รับ รวมทั้งเหตุผล


2.กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถาม หมายถึง เป็นกระบวนการปฏิบัติ หรือหาคำตอบหรือ

ตรวจสอบสมมติฐานที่ ตั้งไว้โดยการทดลองเพื่อทำการค้นคว้าหาข้อมูลและตรวจสอบดูว่าสมมติฐาน

ข้อใดเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุดกระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบของปัญหา หรือตรวจสอบ 

สมมติฐานที่สร้างไว้

ขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหา

เนื้อหาของการวิจัย เรื่องการ ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็ก

ปฐมวัยชั้นอนุบาล 2  ใช้กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถามมี12 กิจกรรม ดังต่อไปนี้

1.กิจกรรมไข่หมุน   2.  กิจกรรมขวดแก้วจอมซ่อน    3.  กิจกรรมดอกไม้เปลี่ยนสี   4.  กิจกรรมเปลวไฟ

ลอยน้ำ    5.  กิจกรรมสกัดสีจากผักผลไม้   6.  กิจกรรสำรวจใบตอง    7.กิจกรรมลูกเกดเต้นระบำ

8.  กิจกรรมไข่จมไข่ลอย9.  กิจกรรมสำรวจลูกโป่ง    10.กิจกรรมเสียงของลูกโป่ง    

11.กิจกรรมการเคลื่อนที่ของลูกโป่ง   12.กิจกรรมเผาใบตอง


ขอบเขตด้านประชากรที่ศึกษา

   ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้  คือนักเรียนชั้นอนุบาลโรงเรียนป่าซางอำเภอแม่จันจังหวัดเชียงราย  

ชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 30 คน อายุระหว่าง 5 - 6 ปี ในภาคเรียนที่ 1


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1.แผนการใช้ กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถามสำหรับเด็กปฐมวัย

2.แบบทดสอบทักษะการลงความเห็นหรือการลงสรุป ของลินราดา หันเทพมีจำนวนทั้งหมด  ข้อ

      แผนการจัดกิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถามสำหรับเด็กปฐมวัย


ตัวอย่างแผน

แผนการจัดประสบการณ์การทดลอง   ชั้นอนุบาล 2  ภาคเรียนที่ 1   สัปดาห์ที่  1  ครั้งที่ 1  วันพุธ

กิจกรรม ไข่หมุน

วัตถุประสงค์ 

1.เพื่อฝึกการสังเกตและเปรียบเทียบความแตกต่างการหมุนของไข่

2.เพื่อฝึกให้มีส่วนร่วมในการท ากิจกรรมกับเพื่อนและครู

วัสดุอุปกรณ์      1.ไข่ต้มแล้ว กับ ไข่ยังไม่ได้ต้ม

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการทดลอง

ขั้นนำ     1.ให้เด็กหาพื้นที่ให้กับตัวเอง         2. จัดเด็กเป็นกลุ่มกลุ่มละ 5 คน

ขั้นสอน   1.เด็กๆสังเกตไข่2ฟอง ใบหนึ่งไข่สุก อีกใบหนึ่งไข่ดิบ   2.เปรียบเทียบไข่ 2ฟองว่าแตกต่าง

กันอย่างไร   3.นำไข่ทั้ง 2 ฟองไปตั้งที่พื้นแล้วทดลองหมุนไข่    4.สังเกตความแตกต่างแล้วบันทึก

ขั้นสรุป    1.เด็กและครูสรุปร่วมกันเกี่ยวกับไข่หมุน

การประเมินผล    1.สังเกตดูเมื่อเด็กๆท ากิจกรรมการเคลื่อนที่ของไข่หมุน

ตารางระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง

ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ดำเนินกิจกรรมการทดลองในภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา 2554 

โดยใช้เวลาทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ  3 วัน วันละ 40 นาที ผู้วิจัยดำเนินการทดลองตามกำหนดการ

ดังนี้

     ตาราง  แสดงวันเวลาดำเนินการใช้กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้ คำถาม



สัปดาห์ที่


วันที่

กิจกรรม


1

พุธ
ไข่หมุน
พฤหัสบด
ขวดแก้วจอมซ่อน
ศุกร
เผาใบตอง


2
พุธ
ดอกไม้เปลี่ยนสี
พฤหัสบด
เปลวไฟลอยน้ำ
ศุกร
การเคลื่อนที่ของลูกโป่ง


                           3
พุธ
สกัดสีจากผัก ผลไม้
พฤหัสบด
สำรวจใบตอง
ศุกร
เสียงของลูกโป่ง


4
พุธ
ลูกเกดเต้นระบำ
พฤหัสบด
ไข่จมไข่ลอย
ศุกร
สำรวจลูกโป่ง



สรุปผลการวิจัย

1.การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัยโดย ใช้กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วย

การใช้คำถามก่อน การทดลองได้ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  18.95  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.95หลัง

การทดลองได้ ค่าเฉลี่ยค่าเท่ากับ 24.30 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.49

2.ทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัยโดยบูรณาการด้วยการใช้คำถาม ก่อนการจัดกิจกรรม

ได้ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.95   คะแนน หลังการจัดกิจกรรมได้ ค่าเฉลี่ย 24.30คะแนน มีความแตกต่างกัน

อย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .05  แสดงว่าการใช้กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คำถามสูงขึ้น

ก่อนการจัดกิจกรรมการทดลอง















                           




ครั้งที่14


บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ

ครั้งที่ 14   วันที่่ 20 พฤศจิกายน 2557

เวลา 08.30 - 12.20 น. ห้อง 233


   ความรู้ที่ได้รับ  (Knowledge)

         วันนี้อาจารย์ให้นำของ( เล่นวิทยาศาสตร์  Science Toys)  มาส่งอีกครั้งพร้อมจัดประเภทดังต่อไปนี้

 และแนะนำเทคนิคการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย




   ต่อด้วยการนำเสนอวิจัยสำหรับเด็กปฐมวัย

  1. นางสาวชนากานต์  มีดวง    วิจัยเรื่อง  การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรับเด็ก

ปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้   Cick

 2.นางสาวสุธิดา  คุณโตนด  วิจัยเรื่อง ผลของการบันทึกประกอบประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่มีต่อ

ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย  Cick

3.นางสาวธิดารัตน์  สุทธิพล  วิจัยเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อ

พัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย  Cick


4.นางสาวธนภรณ์  คงมนัส  วิจัยเรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ

ประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุม

วิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน  Cick



     ต่อด้วยกิจกรรมในห้องเรียน Cooking  ( การทำวาฟเฟิล Waffles )  Cick



    ส่วนผสม ingredient และอุปกรณ์ equipment

  1.    แป้งวาฟเฟิลสำเร็จรูป   Flour waffles finished
  2.    เนย  Butter
  3.    ไข่ไก่ Egg
  4.    น้ำ Water
  5.    ถ้วยตวง Cup
  6.    ถ้วยสำหรับตีแป้ง  Cups flour for strike
  7.    ช้อน / ส้อม  Spoon / Fork
  8.    ไม้ตีแป้ง  Flour bat
  9.     เครื่องทำวาฟเฟิล Waffle Maker






      ขั้นตอนการทำ  Procedures
 

    เทแป้งวาฟเฟิลลงในถ้วยผสม



   จากนั้นตอกไข่ไก่1ฟอง พร้อมเนย ลงในถ้วยผสม




  จากนั้นตีส่วนผสมเข้าด้วยกันแล้วค่อยๆเติมน้ำเปล่าทีละนิดอย่าให้แป้งเหลวจนเกินไป


  
จากนั้นเทแป้งวาฟเฟิลแบ่งใส่ถ้วยคนละ1 ถ้วย



จากนั้นเทแป้งวาฟเฟิลลงตรงกลางก่อนอบควรทาเนยที่เครื่องอบก่อน


   
เมื่ออบจนเสร็จทาเนยลงที่ขนมวาฟเฟิลเพื่อเพิ่มรสชาติและนำออกจากเตา




     ผลงานวาฟเฟิลของดิฉันค่ะ






    เทคนิคการสอน Teaching Techniques

  1. การลงมือกระทำด้วยตนเองเพื่อเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและประสบการณ์
  2. การใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้น เทคนิคการตั้งคำถามฝึกให้เด็กได้วิเคราะห์
  3. บุคคลิกในการสอนการนำเสนองานหน้าห้องเรียนคำควบคล้ำ

   การนำไปประยุกต์ใช้  Applications


  1. การนำเทคนิคการสอนไปปรับประยุกต์ใช้ได้
  2. สามารถนำวิธีการสอนCooking ในวันนี้ไปใช้ในการสอนได้

   ประเมิน  Rate

   
  อาจารย์ 100% มีการแนะนำเทคนิคต่างๆการสอนสนุกสนานมีความหลากหลายมีการให้นักศึกาาได้

 ลงมือปฏิบัติออกความคิดเห็นมีส่วนร่วม

  ตนเอง 100%   ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอวิจัยฟังคำแนะนำอาจารย์ มีส่วนร่วมในการทำCooking 

  สนุกสนานได้ความรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง

  เพื่อน 100% ตั้งใจฟัง ให้ความร่วมมือในการสอน สนใจการทำCooking ดีสนุกสนานแสดงความคิดเห็น